เมนู

สตรีนั้นถามว่า อะไรเจ้าขา ชื่อว่าทานที่เลิศ
ภิกษุตอบว่า เมถุนธรรม จ้ะ
ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว.

เรื่องทำงาน 3 เรื่อง


[413] 1. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งกำลังทำงานอยู่ ภิกษุ
รูปหนึ่งมีความกำหนัด พูดเคาะว่า น้องหญิง หยุดเถิด ฉันจักทำเอง
นางไม่เข้าใจความหมาย ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฎ
2. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งกำลังทำงานอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งมี
ความกำหนัด พูดเคาะว่า น้องหญิง นั่งลงเถิด ฉันจักทำเอง นางไม่
เขัาใจความหมาย ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ
3. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งกำลังทำงานอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งมี
ความกำหนัด พูดเคาะว่า น้องหญิง จงนอนเสียเถิด ฉันจักทำเอง
นางไม่เข้าใจความหมาย ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆา -
ทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า
ก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 3 จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 3
ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบทวรรณนา


ทุฏฐุลลวาจาสิกขา บทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
พึงทราบวินิจฉัยในทุฎฐุลลวาจาสิกขาบทนั้นดังนี้

[อธิบาย สิกขาบทวิภังค์ สังฆาทิเสสที่ 3]


บทว่า อาทิสฺส แปลว่า มุ่งถึง.
หลายบทว่า วณฺณมฺปิ ภณติ เป็นต้น จักมีแจ้งข้างหน้า.
บทว่า อจฺฉินฺนกา แปลว่า ขาคความเกรงบาป.
บทว่า ธุตฺติกา แปลว่า ผู้มีมารยา.
บทว่า อหิริกาโย แปลว่า ผู้ไม่มีความอาย.
บทว่า โอหสนฺติ แปลว่า แย้มพรายแล้ว หัวเราะเบา ๆ.
บทว่า อุลฺลปนฺติ ความว่า ย่อมกล่าวถ้อยคำแทะโลม มีประการ
ต่าง ๆ ยกย่องโดยนัยเป็นต้นว่า โอ! พระคุณเจ้า.
บทว่า อุชฺชคฆนฺติ แปลว่า ย่อมหัวเราะลั่น.
บทว่า อุปฺผณฺเฑนฺติ ความว่า กระทำการเยาะเย้ยโดยนัยเป็นต้น
ว่า นี้ เป็นบัณเฑาะก์ นี้ มิใช่ผู้ชาย.
บทว่า สารตฺโต แปลว่า กำหนัดแล้ว ด้วยความกำหนัด โดย
อำนาจแห่งความพอใจในวาจาชั่วหยาบ.
บทว่า อเปกฺขวา ปฏิพทฺธจิตฺโต มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ใน
สิกขาบทนี้ พึงประกอบราคะด้วยอำนาจแห่งความยินดีในวาจาอย่างเดียว.